top of page

ความรักในวรรณกรรมของเลนิน สู่การปฏิรูปรัสเซีย


ถึงแม้ว่า "วลาดิมีร์ เลนิน" ผู้นำมาร์กซิสแห่งสหภาพโซเวียต ผู้เปลี่ยนระบอบการปกครองของรัสเซียจากระบอบกษัตริย์มาเป็นคอมมิวนิสต์ ทั้งยังวางแนวทางเศรษฐกิจแนวใหม่ของรัสเซียด้วย เพื่อการกำจัดระบบทุนนิยม การปฏิวัติรัสเซียของเลนนินนำพายุคใหม่มาสู่สังคมประเทศ และมีบ่อเกิดมาจาก "ความรัก" ที่เขามีต่อวรรณกรรม ณ เวลานั้นยังคงมีคนที่อ่านหนังสือไม่ออกอยู่เป็นจำนวนมาก และเหล่าบรรดานักเขียนนักประพันธ์ก็มักจะสอดใส่เรื่องการเมืองเข้าไปในงานประพันธ์ของตัวเองอยู่เสมอ แล้วจึงนำมาอ่านออกเสียง ปลูกฝังแนวคิดต่าง ๆ ลงไปในหัวของประชาชน เลนินในวัยมัธยมนั้นชอบภาษาละตินเป็นอย่างมาก และโดนคาดหวังว่าเขาจะหลายเป็นนักภาษาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ แต่ก็อย่างที่รู้ว่าเขาไม่ได้โตมาเพื่อเป็นเช่นนั้นแม้ว่าเลนินจะเป็นคนรัสเซีย แต่งานของเกอเธ่ (นักเขียนชาวเยอรมัน) ก็มีอิทธิพลต่อแนวคิดของเลนินมาก ถึงกระนั้นเลนินก็รู้ดีกว่าวรรณคดีรัสเซียคลาสสิกมักจะอิงการเมืองอยู่เสมอ แม้แต่เรื่องที่ "ไม่ถูกต้อง" ก็พบว่ายากที่จะปกปิดการดูหมิ่นนั้นได้มิด นิยายของ Ivan Goncharov’s อย่างเรื่อง Oblomov เป็นกรณีตัวอย่างเรื่องความรักต่อวรรณกรรมของเลนิน มันแสดงให้เห็นความเฉื่อยความเกียจคร้านและความกลวงของชนชั้นสูง ความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ได้รับการเฉลิมฉลองด้วยการป้อนคำศัพท์ใหม่ ๆ ลงในศัพท์ภาษารัสเซีย ในการโต้วาทีหลายครั้ง เลนินมักทำร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยการเปรียบเทียบกับตัวละครที่ไม่เป็นที่พอใจเกือบตลอดเวลา และบางครั้งก็มาจากนิยายของรัสเซีย ถึงกระนั้นเลนินก็เป็นปฏิปักษ์กับความคิดของ "วรรณคดีและศิลปะชนชั้นกรรมาชีพ" อยู่บ้าง เขาเชื่อว่าชนชั้นนายทุนนั้นไม่สามารถทดแทนด้วยกลไกและการตายในประเทศที่มีลำดับความซับซ้อนทางวัฒนธรรม ซึ่งมันแทบจะไม่มีวันเกิดขึ้น อาจเรียกได้ว่า "ความสมจริงเชิงสังคมนิยม" แม้ว่ามันจะถูกพยายามนำเข้ามาหลังการตายของเลนิน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยในสหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในปัจจุบัน

บทคัดย่อ ส่วนหนึ่งจาก theguardian

Comentários


bottom of page