- ผู้เขียน: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
- สำนักพิมพ์: วิภาษา
- จำนวนหน้า: 576 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2563
- ISBN: 9786167801155
สังคมศาสตร์ทางเลือก
อาวุธทางการเมืองวัฒนธรรมที่แหลมคมของพลังฝ่ายอนุรักษนิยมคือการสร้างเรื่องเล่าและเทคนิควิทยาการของการเล่าเรื่องที่ทั้งทรงพลังและมีความสลับซับซ้อนสูง พลังของเรื่องเล่าอยู่ที่การทำให้เส้นแบ่งระหว่างเท็จกับจริง เรื่องจริงกับเรื่องแต่งเกิดความพร่ามัวไม่ชัดเจน เรื่องเล่าทำให้ประชาชนรู้สึกมีความร่วมทั้งในระดับปัจเจกและในระดับของความรู้สึกนึกคิด เรื่องเล่าทำงานคนละแบบกับการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ในอดีต เรื่องเล่าสร้างความรู้สึกนึกคิดให้กับคนฟัง เป็นความรู้สึกนึกคิดในทำนองที่ว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้โดยฉับพลันโดยไม่มีเรื่องของความขัดแย้งหรือความตึงเครียดใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง (บางส่วนจาก "การสร้างการรับรู้ในสังคมไทย: เรื่องเล่า")
นักรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่เข้าใจว่าการตัดสินใจทางการเมือง (political judgement)เป็นเรื่องของเหตุผลหรือเจตนารมณ์ล้วนๆ ส่วนอารมณ์จะทำให้เกิดการบิดเบือน บิดเบี้ยวหรือเบี่ยงเบนออกจากเหตุผล หากจะดีขึ้นหน่อยก็จะมองว่าการปลุกเร้าอารมณ์เป็นวิธีการที่จะโน้มน้าวการสนับสนุนจากสาธารณชนในเรื่องที่มีเหตุผล การตัดสินใจทางการเมืองที่ดีต้องเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลเสมอ อารมณ์จะเข้ามาเกี่ยวข้องก็ต่อเมื่อมีการกำหนดข้อถกเถียงหรือนโยบายที่สร้างขึ้นจากเหตุผลแล้วเท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว การเมืองเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดตั้งแต่ต้นจนจบ (บางส่วนจาก "อารมณ์กับประชาธิปไตยไทย")
ทฤษฎี
- การจัดการกับอัตวิสัย/วัตถุวิสัยในสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์
- บาร์ตส์กับการวิเคราะห์แบบหลังโครงสร้างนิยม
- คิดแบบการทำให้เป็นความเฉพาะเจาะจง
- ชีลส์ เดอเลิซกับอำนาจของภาษา
- ภาษากับอำนาจบทวิเคราะห์
- สุนทรียศาสตร์กับการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ขบวนการเสื้อแดงกับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเมือง
- อารมณ์กับประชาธิปไตยไทยจุดเปลี่่ยน
- การสร้างการรับรู้ในสังคมไทย : เรื่องเล่า
- การสร้างการรับรู้ในสังคมไทย : อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด แอฟเฟ็คท์
- การสร้างการรับรู้ในสังคมไทย : การรับรู้ทางเลือก