ผู้เขียน : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
- สำนักพิมพ์ ศรีปัญญา
- จำนวนหน้า 168 หน้า ปกแข็ง
- พิมพ์ครั้งที่ 1มิถุนายน 2564
- ISBN:9786164371217
มัทนะพาธา
มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีประเภท “บทละครพูด” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ของพระองค์ บทละครเรื่องนี้ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า “เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์” ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเยี่ยม ตลอดจนมีการวางโครงเรื่องที่ชวนให้ติดตาม ทั้งยังสอดแทรกคติสอนใจเรื่องความรักได้อย่างซาบซึ้งกินใจอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระองค์ทรงกล่าวถึงที่มาของชื่อมัทนาว่า
“ก่อนได้ทราบว่าดอกกุหลาบเรียกว่าอย่างไรในภาษาสันสกฤตนั้น ข้าพเจ้าได้นึกไว้ว่าจะให้ชื่อนางเอกในเรื่องนี้ตามนามแห่งดอกไม้ แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่าดอกกุหลาบ คือ “กุพชกะ” เลยต้องเปลี่ยนความคิด เพราะถ้าแม้ว่าจะให้ชื่อนางว่า “กุพชกะ” ก็จะกลายเป็นนางค่อมไป ข้าพเจ้าจึงค้นหาดูศัพท์ต่างๆ ที่พอจะใช้เป็นนามสตรี ตกลงเลือกเอา “มัทนา” จากศัพท์ “มทน” ซึ่งแปลว่าความลุ่มหลงหรือความรัก เผอิญในขณะที่ค้นนั้นเองก็ได้พบศัพท์ “มทนพาธา” ซึ่งโมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลไว้ว่า “the pain or disquietude of love” (ความเจ็บปวดหรือเดือดร้อนแห่งความรัก” ซึ่งข้าพเจ้าได้ฉวยเอาทันที เพราะเหมาะกับลักษณะแห่งเรื่องที่เดียว เรื่องนี้จึงได้นามว่า “มัทนะพาธาหรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ” ด้วยประการฉะนี้”
สุเทษณ์ เทพบุตรผู้โดนนางอันเป็นที่รักปฏิเสธ
มัทนา นางฟ้าอัปโชคผู้จุติมาเป็นดอกกุหลาบ
พระกาละทรรศิน พระฤาษีใจดีและเมตตานางมัทนา
ชัยเสน กษัตริย์หนุ่มที่มีความรักแท้
จัณฑี พระมเหสีผู้มีแต่ความอิจฉาและต้องการความรักจากสามี