แปลจากหนังสือ : Temples and Elephants
- ผู้แต่ง คาร์ล บ็อค
- ผู้แปล: เสฐียร พันธรังษี,อัมพร ทีขะระ
- สำนักพิมพ์ ศรีปัญญา
- จำนวนหน้า 456 หน้า
- พิมพ์ครั้งที่ 6 มิถุนายน 2562
- ISBN: 9786164370661
ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง (ปกแข็ง)
คาร์ล บ็อค (Carl Bock) เป็นนักธรรมชาติและนักสำรวจชาวนอร์เวย์ ความจริงเขาน่าจะถูกนับว่าเป็นชาวเดนมาร์กมากกว่า ทั้งนี้เพราะเขาถือกำเนิดในกรุงโคเปนเฮเกน อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในของประเทศเดนมาร์ก หากแต่ในช่วงที่เขาถือกำเนิดขึ้นมานั้น พ.ศ. ๒๓๙๒ เวลานั้นประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ถูกนับเป็นประเทศเดียวกัน ภายใต้ชื่อ สหราชอาณาจักรเดนมาร์กและนอร์เวย์ (พ.ศ. ๒๓๕๗-๒๔๔๘) กล่าวคือในเวลานั้นทั้งสองชาติอยู่ภายใต้กษัตริย์พระองค์เดียวกันจากราชวงศ์เบอร์นาดอตต์
เข้าได้เข้ามาสำรวจดินแดนในประเทศสยาม (นามในเวลานั้น) ทางด้านภูมิศาสตร์ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๒๔ และเดินทางจากสยามกลับสู่ยุโรปในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ โดยเดินทางสำรวจดินแดนแถบภาคเหนือของสยามประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๔ ด้วยการออกเดินทางตามเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ กำแพงเพชร ไปจนถึงลำปาง และต่อไปจนถึงลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย กระทั่งเข้าสู่ดินแดนไทใหญ่ในอาณาเขตยูนนาน หรือสิบสองปันนาในเวลานั้น
ไม่เพียงเท่านั้น ในระหว่างที่รอคอยการเดินทางเพื่อขึ้นไปสำรวจดินแดนทางตอนเหนือของสยาม เขายังได้เดินทางสำรวจตรวจตราไปในท้องถิ่นต่างๆ ของสยามหลายแห่งไม่ว่าเพชรบุรี หรือกาญจนบุรี พร้อมกันไปอีกด้วย
การสำรวจและการเดินทางของเขาในครั้งนั้นถูกเขียนขึ้นเป็นเอกสารและได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกออกเป็นภาษาเยอรมันใน พ.ศ. ๒๔๒๖ และต่อมาได้มีการแปลหนังสือนั้นออกเป็นภาษาอังกฤษ ในอีกปีต่อมาคือใน พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยใช้ชื่อในภาคภาษาอังกฤษว่า Temples and Elphants
กล่าวกันว่าผลงานเล่มนี้ของเขาได้รับการชมเชยอย่างสูงจากบรรดาสมาคมภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของประเทศต่างๆ ในยุโรป ส่งผลให้เขาได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ และเหรียญตราเกียรติยศจากกษัตริย์แห่งออสเตรีย และ สมาคมภูมิศาสตร์หลายแห่งเชิญให้เขาเข้าไปเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์อีกด้วย.
ทั้งยังสามารถกล่าวได้อีกว่า หนังสือเรื่อง Temples and Elephants นี้ยังเป็นหนังสือที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และถูกนำไปใช้อ้างอิงในการศึกษาและสนใจภูมิศาสตร์ของประเทศไทยในเวลานั้นอีกมากด้วย
กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ผลงานบันทึกและเขียนของคาร์ล บ็อค เล่มนี้ก็กลายเป็นหนังสืออันทรงค่า ที่เหมาะควรจะเรียนรู้และเข้าใจต่อสภาพของประเทศไทยในมุมท้องถิ่นภาคเหนือในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้า อย่างมากยิ่ง.